รายละเอียด
คอนกรีต Flow
คอนกรีต Flow หรือ คอนกรีตไหลเข้าแบบง่าย เป็นคอนกรีตที่มีคุณภาพสูงด้วยความหลากหลายของคอนกรีตผสมเสร็จจากผู้ผลิตที่เชี่ยวชาญ ซึ่ง คอนกรีตFlow คือนวัตกรรมของคอนกรีตที่ถูกวิจัยและพัฒนาขึ้นให้มีคุณสมบัติของความสามารถในการเปลี่ยนรูปร่าง (Deformability) ความสามารถในการแทรกตัว (Filling Ability) และความสามารถในการต้านทานการแยกตัว (Segregation Resistance) สูง สามารถไหลผ่านเหล็กเสริมที่ซับซ้อนและหนาแน่นมากๆ ได้อย่างง่ายดายและเนื้อคอนกรีตยังสามารถอัดแน่นเข้าไปยังทุกมุมของแบบหล่อด้วยน้ำหนักของคอนกรีตเองไม่ต้องมีการจี้เขย่า นอกจากนี้เนื้อคอนกรีตที่แข็งตัวแล้วยังมีความทึบน้ำ และความคงทนสูง ทำให้โครงสร้างมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น
ทำความรู้จักกับ คอนกรีตFlow
เหมาะสำหรับโครงสร้างที่มีเหล็กเสริมซับซ้อนและหนาแน่นมากเป็นพิเศษ หรือโครงสร้างที่การจี้เขย่าทำได้ยากหรืองานที่มีวิธีการเทคอนกรีตที่ไม่สามารถเทด้วยวิธีปกติ
วิธีการเท คอนกรีตFlow
เนื่องจากคอนกรีตประเภทนี้มีค่ายุบตัวที่สูงมากและมีอายุคอนกรีตสดขณะใช้งานตามที่ออกแบบไว้ ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนในการเทที่เหมาะสมและถูกต้องตามหลักของเทคนิคก่อสร้างและคุณสมบัติของคอนกรีต ผู้ใช้งานควรปรึกษาและทำความเข้าใจกับคอนกรีตประเภทนี้ก่อนจะนำไปใช้งาน
การใช้งาน คอนกรีตFlow
ไม้แบบ : การใช้คอนกรีต Flow เรื่องที่สำคัญอีกอย่างคือ ควรใช้แบบหล่อที่แข็งแรงและคงทน เพราะแรงดันของคอนกรีตต่อไม้แบบจะสูงกว่าปกติ โดยเฉพาะการเทโครงสร้างเสาหรือกำแพงสูง
การบ่มคอนกรีต : สำหรับคอนกรีตประเภทนี้ ควรทำการบ่มการให้ความชื้นกับคอนกรีต โดยใช้กระสอบเปียกชื้นคลุมบ่มอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 7 วัน โดยหมั่นทำการฉีดน้ำลงบนกระสอบเพื่อรักษาสภาพความเปียกชื้นอย่างสม่ำเสมอ โครงสร้างและอาคาร หรือสิ่งก่อสร้างพิเศษที่อาจจะต้องใช้วิธีการบ่มที่เหมาะสมอื่นๆ
การเทคอนกรีตและการทำให้แน่น
การเทคอนกรีตและการทำให้แน่น เป็นงานที่กระทำควบคู่กันไปตลอดเวลา วัตถุประสงค์หลักของการเทคอนกรีตคือ การป้องกันไม่ให้คอนกรีตเกิดการแยกตัวและทำคอนกรีตให้แน่นอย่างทั่วถึง การเทคอนกรีตและการทำคอนกรีตให้แน่นอย่างถูกวิธีและบรรลุวัตถุประสงค์ มีเทคนิคการดำเนินงานดังนี้
1. ควรหลีกเลี่ยงการเคลื่อนย้ายตำแหน่งของคอนกรีตโดยใช้เครื่องสั่นคอนกรีต
2. ควรเทคอนกรีตทีละชั้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่ลาดเอียงและไม่ควรเทสุมเป็นกอง
3. ความหนาของการเทแต่ละชั้น ควรเหมาะกับกำลังของเครื่องสั่นคอนกรีต เพื่อให้สามารถไล่ฟองอากาศออกจากส่วนล่างของแต่ละชั้น
4. งานเทคอนกรีตสำหรับผนัง ควรเทให้หนาเป็นชั้น ความหนาชั้นละประมาณ 30-45ซม. ควรเริ่มเทคอนกรีตจากมุมหรือจุดท้ายสุดของแบบผนัง
5. อัตราการเทคอนกรีตและการสั่นคอนกรีต ควรมีความสมดุลกัน
6. ควรทำการสั่นคอนกรีตให้แน่นเสียก่อนในแต่ละชั้น ก่อนที่จะเทคอนกรีตในชั้นถัดไป
7. โครงสร้างในแนวดิ่ง เช่น เสา และผนัง ไม่ควรเทคอนกรีตเร็วกว่าความสูง 2 เมตรต่อชั่วโมง และควรเทอย่างต่อเนื่อง เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดรอยขณะเทคอนกรีต
8. หลีกเลี่ยงการเทเสาคอนกรีตกระทบกับแบบหล่อหรือเหล็กเสริมโดยตรง กรณีโครงสร้างที่มีความสูง เช่น เสา ผนัง คานลึก ปล่องลิฟท์ ควรใช้ท่อเทคอนกรีตเพื่อป้องกันการแยกตัว
9. โดยทั่วไปควรเทคอนกรีตลงในแนวดิ่ง แต่สำหรับการเทคอนกรีตในแนวนอนหรือแนวลาดเอียง ต้องเทคอนกรีตจากจุดต่ำสุดและให้คอนกรีตดันตัวขึ้นมาตามแบบหล่อ ควรเทคอนกรีตอย่างต่อเนื่องกัน
10. ไม่ควรให้ระยะตกอิสระของคอนกรีตสูงกว่า 1.5ม.
11. หากต้องการหล่อคอนกรีต เสา ผนัง คาน พื้นพร้อมกัน สามารถทำได้โดยเทคอนกรีตส่วนเสาและผนังทิ้งไว้ก่อนประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วจึงเทคอนกรีตในส่วนของคานและพื้นต่อไปได้ แต่ต้องระวังอย่างให้กระทบกระเทือนต่อเสาและผนังที่ยังไม่แข็งตัวดี